วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 5 พฤษภาคม 2558

ครั้งที่ 15

สรุปการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


  • จากการที่ได้เรียนวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้น ทำให้รู้ว่า การสอนเด็กปฐมวัยนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่ใช่แค่ เล่านิทาน ป้อนนม แล้วให้เด็กนอน การสอนเด็กปฐมวัยนั้นมีอะไรที่สอดแทรกอีกเยอะ ไม่ว่าจะเป็นการสอน เราควรสอนให้ตรงตามพัฒนาการของเด็ก สอนในเรื่องที่เด็กสนใจ และควรส่งเสริมเด็กให้เด็กทำกิจกรรมต่าง ๆ การสอนคณิตศาสตร์ให้เด็กปฐมวัยก็เช่นกัน เราควรสอนตามกรอบสาระมาตราฐานการเรียนรู้ 6 สาระ เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนเป็นลำดับขั้น และการสอนคณิตศาสตร์ปฐมวัยควรทอดแทรกวิชาต่าง ๆ เข้าไปด้วย เช่น ศิลปะ,ดนตรี,วิทยาศาสตร์ ฯ ซึ่งการทอดแทรกวิชาต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้เกิดเกิดการพัฒนาไปทุก ๆ ด้าน



วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 1 พฤษภาคม 2558

ครั้งที่ 14

เนื้อหาที่เรียน

  • ทบทวนความรู้ตลอด 1 เทอม ดังนี้ 
การบูรณาการคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยกับวิชาอื่น ๆ เช่น
  • ภาษา,สุขศึกษา,สังคมศึกษา,ดนตรี,ศิลปะ,วิทยาศาสตร์ เป็นต้น
  • พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
  • การบูรณาการกับ 6 กิจกรรมหลัก 1.กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ 2.กิจกรรมเสริมประสบการณ์ 3.กิจกรรมเสรี 4.กิจกรรมกลางแจ้ง 5.กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 6.เกมการศึกษา
กิจกรรมผู้ปกครองมีส่วนร่วมกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างไรบ้า
  • นับจำนวนการจ่ายตังค์ที่ตลาดกับผู้ปกครอง
  • การทำอาหาร เช่น ปริมาณของส่วนผสมต่าง ๆ ความสั้น-ยาว ของผัก
  • การนับสิ่งของต่าง ๆ ภายในบ้าน
  • การนั่งรถไปเที่ยวสถานที่ต่าง ๆ อ่านป้ายทะเบียนรถ
  • ให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดโต๊ะอาหาร
เกมการศึกษาคือ
  • กิจกรรมการเล่นที่ช่วยพัฒนาด้านต่าง ๆ ของเด็ก โดยเน้นทางด้านสติปัญญา
ประเภทของเกมการศึกษา
  • กมจับคู่ เช่น  จับคู่รูปร่างที่เหมือนกัน  จับคู่ภาพกับเงา 
  • เกมจัดหมวดหมู่   ภาพสิ่งต่างๆที่นำมาจัดเป็นพวกๆ   ภาพเกี่ยวกับประเภทของใช้ในชีวิตประจำวัน
  •  เกมจัดหมวดหมู่ตามรูปร่าง สี ขนาด รูปทรงเรขาคณิต 
  •  เกมวางภาพต่อปลาย (Domino) โดมิโนภาพเหมือน โดมิโนสัมพันธ์
  •  เกมเรียงลำดับ  เรียงลำดับภาพเหตุการณ์ต่อเนื่อง  เรียงลำดับขนาด
  • เกมศึกษารายละเอียดของภาพ (Lotto)
  •   เกมจับคู่แบบตารางสัมพันธ์ (Matrix)
  •  เกมพื้นฐานการบวก
นำเสนอนิทาน เพลง คำคล้องจอง

  • กลุ่มในสาระที่ 5
  • กลุ่มในสาระที่ 6
วิธีการสอน
  • อาจารย์เปิดโอกาสให้เด็กได้ตอบคำถาม
  • ให้เด็กได้มีส่วนร่วมกับการทำกิจกรรมต่าง ๆ
ทักษะที่ได้รับ
  • ได้รับทักษะการคิดวิเคราะห์
  • ทักษะในการตอบคำถาม
  • ทักษะในการนำเสอนงานหน้าชั้นเรียน
การประยุกต์ใช้
  • สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้แก่เด็กปฐมวัยให้ตรงตามพัฒนาการและส่งเสริมพัฒนาการไปทุกๆด้าน
บรรยากาศในการสอน
  • มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียน
  • บรรยากาศในห้องเรียนเย็นจนเกินไป
  • เพื่อน ๆ มีความตั้งเรียนดี
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
  • อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่หลาหลาย
  • เปิดโอกาสให้เด็กได้ตอบคำถาม
  • เข้าสอนตรงเวลา

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 27 เมษายน 2558

ครั้งที่ 13

เนื้อหาที่เรียน

ทำแบบประเมิน ทบทวนความรู้จากการเรียนตลอด 1 เทอม โดยมีเนื้อหาดังนี้

1.พัฒนาการหมายถึงอะไร?
2.การเรียนรู้มีลักษณะอย่างไร?
3.หากครูไม่ศึกษาพัฒนาการและวิธีการเรียนรู้ของเด็กการจัดประสบการณ์จะเป็นอย่างไร?
4.คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มีลักษณะอย่างไร?
5.คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแตกต่างจากวิชาคณิตศาสตร์ในระบบการเรียนการสอนของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างไร?
6.การนำความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์หรือการคิดคำนวณมาจัดประสบการณ์ให้เด็กมีแนวคิดอย่างไร?
7.สาระคณิตศาสตร์ตามกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยมีอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างการจัดประสบการณ์แต่ละสาระ
8.ผู้สอนบูรณาการคณิตศาสตร์ผ่านรูปแบบการสอนใดได้บ้าง?
9.ให้ท่านยกตัวอย่างขั้นตอนรูปแบบการสอนบูรณาการคณิตศาสตร์?
10.ในการทดลองการจัดประสบการณ์ทำไมการวางโต๊ะและกระดานเขียนต้องมีความสัมพันธ์กับการนั่งของครู
11.ขั้นตอนการจัดประสบการณ์มีอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่าง
12.ในการทดลองการจัดประสบการณ์มีเทคนิควิธีที่ท่านพึงระวังและควรนำมาใช้มีอะไรบ้าง

13.จากการศึกษาในรายวิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยท่านได้ความรู้และทักษะใดบ้าง คุณธรรมจริยธรรมที่ได้รับจากรายวิชานี้คืออะไร ท่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนอะไร พร้อมยกตัวอย่าง ท่านมีโอกาสใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาบ้างหรือไหม พร้อมยกตัวอย่าง ท่านมีประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้หรือไม่ ถ้ามีให้ท่านยกตัวอย่าง

วิธีการสอน

  • วันนี้อาจารย์แจกใบประเมินทบทวนความรู้ ตลอด 1 เทอม โดยให้นักศึกษาตอบคำถาม แล้วส่งก่อน 12.00
ทักษะที่ได้รับ
  • ได้ทบทวนความรู้เดิมตลอด 1 เทอมว่าเราเรียนอะไรไปบ้าง
การนำไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำความรู้ที่ได้จากวิชานี้ไปใช้ในรายวิชาอื่นได้
บรรยากาศในการสอน
  • อาจารย์ให้นักศึกษาไปทำงานตามที่ได้รับมอบหมายตามสถานที่ต่าง ๆ ตามใจตนเอง
ประเมินอาจารย์
  • อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ดี มีการให้นักศึกษาทบทวนความรู้ตลอด 1 เทอมที่เรียนมา

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 23 เมษายน 2558

ครั้งที่ 12

เนื้อหาที่เรียน

กิจกรรมส่งขนม

  • อาจารย์ให้ขนมมา 1 กระปุก และให้ตัวแทน 1 คน จัดขนมที่อยู่ในกระปุกโดยการแบ่งขนมเป็นกองกองละ 10 ให้ได้ 3 กอง กองที่ 4 จะมีเพียง 2 ชิ้น
  • ทำอย่างไรเพื่อที่จะให้เด็กได้เรียนรู้คณิตศาสตร์ วิธีการคือ ให้เด็กหยิบขนมด้วยตนเอง โดยหยิบทีละชิ้น แล้วส่งต่อไปเรื่อย ๆ จนครบทุกคน วิธีนี้จะทำให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องการเพิ่ม-ลดของจำนวน


สอบสอน

  • สอบสอนเป็นกลุ่มตามเรื่องที่ตนเองได้ คือ ผีเสื้อ
  • ในการสอนประกอบด้วยอุปกรณ์ดังนี้ 1.โต๊ะ 2.กระดาน 3.กระดาษ 4.สื่อของแต่ละกลุ่ม
เทคนิคที่อาจารย์แนะนำ
  • ควรใช้สื่อที่เป็นของจริง เพื่อที่เด็กจะได้เกิดการเรียนรู้จากของจริง
  • การนั่งไม่ควรนั่งบังกระดาน ต้องนั่งเสมอกับเด็ก
  • ใช้สื่อที่มีความแข็งแรง ทนทาน และไม่เป็นอันตรายต่อตัวเด็ก
วิธีการสอน
  • อาจารย์ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง และมีการให้คำแนะนำต่าง ๆ แก่นักศึกษา
  • มีกิจกรรมเข้าสู่บทเรียนเสมอ
ทักษะที่ได้รับ
  • ได้รับทักษะในการสอนเด็กว่าควรทำอย่างไร
  • ได้ทักษะความกล้าแสดงออก การพูด การนั่ง
การนำไปประยุกต์ใช้
  • สำหรับการเรียนในวันนี้ทำให้ดิฉันได้อะไรหลาย ๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นทักษะในด้านการสอน การเขียนแผน การจัดเตรียมสื่อต่าง ๆ ว่าต้องใช้ของจริง เพื่อที่จะให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ และอีกทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้สอนเด็กได้ในอนาคต
บรรยากาศในการสอน
  • วันนี้สถานที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเรียน ทำให้นักศึกษานั้นเกิดการเรียนรู้ได้ไม่เต็มที่
ประเมินอาจารย์
  • อาจารย์แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี เก็บเด็กเก่ง มีความสามารถในการสอนสูง และมีเทคนิคการสอนที่มากมาย มีกิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียนเสมอ

วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 8 เมษายน 2558

ครั้งที่ 11

เนื้อหาที่เรียน

นำเสนอกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์

  • เลขที่ 9 กิจกรรมศิลปะที่ส่งเสริมทักษะทางคณิตศาตร์
  • เลขที่ 10


ขั้นตอนการออกแบบกิจกรรม

  • ศึกษาสาระที่ควรเรียนรู้
  • วิเคราะห์เนื้อหา
  • ศึกษาประสบการณ์จริง
  • บูรณาการคณิตศาสตร์
  • ออกแบบกิจกรรม
สาระที่ควรเรียนรู้
  • ศึกษาสาระที่ควรเรียนรู้
  • วิเคราะห์เนื้อหา
  • ศึกษาประสบการณ์จริง
  • บูรณาการคณิตศาสตร์
  • ออกแบบกิจกรรม
หลักในการเลือกหัวข้อเรื่อง
  • เรื่องใกล้ตัว
  • เรื่องที่มีผลกระทบต่อตัวเด็ก
ประสบการณ์สำคัญ
  • ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย
  • ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ
  • ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม
  • ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา
แบ่งกลุ่มทำ Mind Mapping
  • แบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มสัตว์ 2 กลุ่ม และ กลุ่มผลไม้ 2 กลุ่ม ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาดังนี้ 1.ชนิด 2.ลักษณะ 3.การดูแลรักษา 4.ข้อควรระวัง 5.ประโยชน์
เขียนแผนการสอนตามเรื่องผีเสื้อ

วิธีการสอน
  • ให้เด็กได้ลงมือทำโดยการปฏิบัติจริง
  • เปิดโอกาศให้นักศึกษา ได้ตอบคำถาม
ทักษะที่ได้รับ
  • ได้รับทักษะการเขียนแผนและการทำ My Mapping
  • ทักษะในการคิดวิเคราะห์
  • ทักษะในการทำงานเป็นกลุ่ม
การนำไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำทักษะในการเขียนแผนไปใช้เขียนแผนได้ในอนาคต
บรรยากาศในห้องเรียน
  • โต๊ะและเก้าอี้ไม่เพียงพอต่อนักศึกษา บรรยากาศมีความวุ่นวาย เพื่อนมาเรียนช้า เนื่องจากฝนตกหนัก
ประเมินอาจารย์
  • อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย ให้คำแนะนำนักศึกษาเวลานักศึกษาทำงานผิดพลาด

วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 25 มีนาคม 2558

ครั้งที่ 10

เนื้อหาที่เรียน

กิจกรรมต่อไม้เป็นรูปต่าง ๆ 

  • แบ่งกลุ่ม 3 คน
  • สร้างรูปจากไม้โดยมีดินน้ำมันเป็นตัวเชื่อมดังนี้ 
          - รูปสามเหลี่ยม
          - รูปสี่เหลี่ยม
          - รูปอะไรก็ได้
          - รูปทรงสามเหลี่ยม
          - รูปทรงสี่เหลี่ยม
          - รูปทรงอะไรก็ได้

เก็บตกการนำเสนอ
เลขที่ 2 บทความคณคิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เลขที่ 25 เรื่องการเรียนรรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
เลขที่ 26 การสอนคณิตศาสตร์ด้วยนิทาน
  • เด็กส่วนใหญ่มักะชอบนิทาน คุณครูจึงนำนิทานที่เด็ก ๆ ชอบมาบูรณาการกับคณิตศาสตร์ซึ่งนิทานที่เล่า คือ ลูกหมูสามตัว โดยจะถามเรื่อง บ้านหลังไหนเล็ก บ้านหลังไหนใหญ่ จำนวนคนในครอบครัวของหมู ทิศทาง แผนที่ เป็นต้น แต่ก่กนจะเล่านิทานจะมีเพลงมาก่อน กล่าวคือการนำด้วยเพลง
นำเสนอรูปแบบการสอน
  • รูปแบบการสอนแบบมอนเตสซอรี่
  • รูปแบบการสอนแบบสตอรี่ไลน์
  • รูปแบบการสอนแบบ BBL
  • รูปแบบการสอนแบบ STEM
นำเสนอนิทาน คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย ตามสาระคณิตศาสตร์ที่ได้

วิธีการสอน
  • มีกิจกรรมทำเข้าสู่บทเรียน
  • เปิดโอกาสให้เด็กแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ถาม และ ตอบคำถาม
  • ให้คำแนะนำขณะที่เด็กนำเสนองาน
ทักษะที่ได้รับ
  • ได้รับทักษะทางการพูดในการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์
  • ทักษะในการถามและตอบคำถาม
การประยุกต์ใช้
  • สามารถนำคำแนะนำจากอาจารย์ในเรื่องของการนำเสนองานไปใช้ได้ในวิชาอื่น ๆ อีกทั้งยังได้เทคนิคการสอนต่าง ๆ กิจกรรมต่าง ๆ ที่อาจารย์ได้จัดขึ้นแต่ละวัน ไปใช้สอนในอนาคต
บรรยากาศในการสอน
  • อุณหภูมิห้องเย็นจนเกินไป
  • เพื่อนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมดี
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
  • อาจารย์มีการเตรียมความพร้อมในการสอนมาดี
  • มีกิจกรรมให้ทำก่อนเข้าเรียนซึ่งกิจกรรมนั้นก็สอดคล้องกับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • สอนเข้าใจง่าย มีการให้เทคนิคต่าง ๆ แก่นักศึกษา       

วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 18 มีนาคม 2558 (ไม่ได้เข้าเรียน)

ครั้งที่ 9

เนื้อหาที่เรียน

นำเสนอวิจัย

  •  เลขที่ 22

นำเสนอบทความ
  • เลขที่ 1 นำเสนอบทความเรื่อง " เทคนิคการสอนเลขอนุบาล"
  • เลขที่ 3 นำเสนอบทความเรื่อง " เสริมการเรียนเลขให้วัยอนุบาล "
         
นำเสนอกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  •  เลขที่ 3 กิจกรรม กระดุมหลากสี
  •  เลขที่ 25 กิจกรรม แสนสนุก
  •  เลขที่ 26 กิจกรรม อนุรักษ์เชิงปริมาณ

** หมายเหตุ** อาจารย์มอบหมายงานให้ทำ คือ  ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน แต่งนิทานคณิตศาสตร์ คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย จากสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวับ



วิธีการสอน
  • ให้นำเสนอวิจัย บทความ และกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • เสริมความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่นำเสนอ
  • ประยุกต์กิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย
ทักษะที่ได้รับ 
  • ทักษะในการคิดวิเคราะห์
  • ทักษะในการพูดนำเสนองาน
  • ทักษะในการตอบคำถาม
การนำไปประยุกต์ใช้            
  • นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัย และเลือกกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและความรู้ด้านคณิตศาสตร์ให้เเก่เด็กปฐมวัย

บรรยากาศในห้องเรียน
  • มีแสงสว่างมากพอ โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนครบถ้วน บรรยากาศในห้องค่อนข้างเงียบ และอากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น
 ประเมินอาจารย์
  • มีเทคนิคการสอนที่ดี พูดเสริมแรงให้นักศึกษาเกิดความรู้และเกิดทักษะใหม่ๆ




วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 11 มีนาคม 2558

ครั้งที่ 8

เนื้อหาที่เรียน

ส่งรายงาน Power Point รูปแบบการจัดประสบการณ์

ทำกิจกรรมการมาโรงเรียนของเด็กอนุบาล

  • การจัดกิจกรรมควรแทรกสาระมาตราฐานให้ครบทุก 6 สาระ
ทำกิจกรรมวิเคราะห์ข้อมูลของแตงโมและกล้วย 
  • โดยเปรียบเทียบว่าสิ่งใดเหมือนกัน โดยผ่านการใช้ซับเซท
เพื่อนนำเสนอบทความ
  • เลขที่ 21 การสอนคณิตศาสตร์จากชีวิตรอบตัว
  • เราสามารถสอนคณิตศาสตร์ได้จากชีวิตรอบตัว เช่น การนับของเล่น นับสิ่งของภายในบ้าน สอนตำแหน่งซ้าย และ ขวา เป็นต้น
ทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับสาระและมาตราฐานในการเรียนรู้


  • สาระที่ คือ จำนวนและการดำเนินการ 
  • สาระที่ คือ การวัด ได้ความรู้ในเรื่องของการเปรียบเทียบ  
  • สาระที่ คือ เรขาคณิต 
  • สาระที่ คือ พีชคณิต  
  •  สาระที่ คือ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น  
  •  สาระที่ 6 คือ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์                                                                     
นำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
  • จุดมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาความรู้
  • ความสำคัญ การเรียนรู้ของเด็กมาจากการกระทำ
  • วิธีการจัดการเรียนการสอน แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1.วางแผนและเริ่มโครงการ 2.พัฒนาโครงการ 3.สรุปและอภิปรายผลโครงการ
  • ลักษณะ 1.อภิปราย 2.นำเสนอประสบการณ์เดิม 3.การทำงานภาคสนาม 4.สืบค้น ตั้งคำถาม 5.การจัดแสดงนิทรรศการ
ฝึกร้องเพลงและแปลงเนื้อเพลง

เพลงบวก-ลบ


บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ   ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ  ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ  หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ  ดูซิเออเหลือเพียงแค่สี่ใบ

แปลงเนื้อเพลง


บ้านฉันมีแก้วน้ำสามใบ  พี่ให้อีกห้าใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ  ดูซิเธอรวมกันได้แปดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำแปดใบ  หายไปห้าใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ  ดูซิเออเหลือเพียงแค่สามใบ

เพลงเท่ากัน-ไม่เท่ากัน

ช้างมีสี่ขา  ม้ามีสี่ขา
คนเรานัั้นหนา  สองขา ต่างกัน
ช้างม้ามี  สี่ขาเท่ากัน (ซ้ำ)
แต่กับคนนั้น  ไม่เท่ากันเอย (ซ้ำ)

แปลงเนื้อเพลง

ความยมีสี่ขา  กวางมีสี่ขา
เจ้านกนัั้นหนา  สองขา ต่างกัน
ความกวางมี  สี่ขาเท่ากัน (ซ้ำ)
แต่กับนกนั้น  ไม่เท่ากันเอย (ซ้ำ)

เพลงขวดห้าใบ

ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)
เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
คงเหลือขวด.....ใบวางอยู่บนกำแพง
(ลดจำนวนขวดลงไปตามลำดับ จนกระทั่งเหลือขวด 1 ใบ)
ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง

เพลงจับปู

1  2  3  4  5     จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว
6  7  8  9  10      ปูมันหนีบฉันต้องส่ายหัว
กลัว ฉันกลัว ฉันกลัว     ปูหนีบฉันที่หัวแม่มือ

วิธีการสอน
  • บอกให้ทราบถึงเนื้อหาที่เราจะเรียนในแต่ละวัน
  • ทบทวนความรู้เดิม
  • เปิดโอกาสให้เด็กได้ร่วมกิจกรรม
  • มีกิจกรรมทำก่อนเข้าสู่บทเรียน
ทักษะที่ได้รับ
  • ได้รับทักษะการแปลงเพลงและฝึกจิตนาการ
  • ได้รับเพลงใหม่ๆ
  • ได้รับทักษะการคิดวิเคราะห์
  • ได้รับทักษะการร้องเพลง
การประยุกต์ใช้
  • สามารถนำความรู้ที่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการจัดประสบการณ์ต่าง ๆ การแปลงเพลง ไปใช้ในการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยให้เหมาะสมได้
บรรยากาศในการสอน
  • วันนี้เพื่อนเข้าห้องเรียนช้า และไม่มีความพร้อมในการเรียน
  • บรรยากาศในห้องเรียนเย็นจนเกินไป
  • เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถเป็นแผ่นซีดีได้ ควรที่จะปรับปรุง
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
  • อาจารย์มีการเตรียมตัวในการสอนดี
  • เข้าสอนตรงเวลาและมาก่อนนักศึกษา
  • มีรูปแบบการสอนที่หลากหลาย

วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558

ครั้งที่ 7

เนื้อหาที่เรียน

กิจกรรมการมาเรียนของนักเรียน

  • เป็นการจัดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันซึ่งจะทำให้เด็กรู้ลำดับการมาก่อน มาหลัง ได้ภาษา ได้รู้ถึงตัวเลข
ทบทวนเพลงเก่า

รูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบรูณาการ
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสมองเป็นฐาน
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบSTEM
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบมอนเตสเซอรี่
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบเดินเรื่อง
เพื่อนนำเสนอโทรทัศน์ครู
  • เลขที่ 17 ครูนิตยากับการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ลูกเต๋า
รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบรูณาการ
  • หมายถึงกระบวนการจัดประสบการณ์ตามความสนใจ ความสามารถโดยเชื่อมโยงเนื้อหาสาระของศาสตร์ต่าง ๆ และสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
ความสำคัญ
  • การจัดประสบการณ์แบบบรูณาการจะช่วยให้สามาดนำความรู้ ทักษะจากหลาย ๆ ศาสตร์มาแก้ไขปัญหาได้กับชีวิตประจำวัน
  • การจัดประสบการณ์แบบบรูณาการเกิความสัมพันธ์เชื่อมโยงความคิดรวบยอดของศาสตร์ต่าง ๆ เข้าด้วยกันทำให้เกิดถ่ายโอนประสบการณ์ของศาสตร์ต่า ๆ เข้าด้วยกัน
  • ช่วยลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหารายวิชาต่าง ๆ 
  • จะช่วยตอบสนองต่อความสามาถในหลย ๆ ด้านของผู้เรียน จะช่วยสร้างความรู้ ทักษะและเจตคติแบบพหุปัญญา
  • สอดคล้องกับทฤษฎีการสร้างความรู้โดยผู้เรียนที่กำลับเผยแพร่ในปัจจุบัน
สาระที่ควรเรียน
  • ตัวเด็ก
  • บุคคลและสถานที่
  • ธรรมชาติรอบตัว
  • สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก
ทำ My Map เกี่ยวกับตัวเด็ก,บุคคลและสถานที่,ธรรมชาติรอบตัว และสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก

วิธีการสอน
  • ให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์จริงจากการทำกิจกรรม
  • มีการทบทวนความรู้เดิม
  • เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ตอบคำถามแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ
  • ใช้เทคโนโลยีเข้ามาในการช่วยสอน
ทักษะที่ได้รับ
  • ได้รับประสบการณ์จริงจากการทำกิจกรรม
  • ได้ทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์จากการทำกิจกรรม
การประยุกต์ใช้
  • สามารถนำกิจกรรมที่อาจารย์สอนก่อนเรียนไปจัดประสบการณ์ให้กับเด็กได้
บรรยากาศในการสอน
  • เพื่อนมาเรียนน้อย บรรยากาศค่อนข้างเงียบเหงา
  • อุณหภูมิห้องเย็นจนเกินไป
  • อาจารย์สอนสนุก ไม่น่าเบื่อ
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
  • อาจารย์สอนสนุก มีกิจกรรมสอนก่อนเข้าเรียนทุกคาบ ซึ่งกิจกรรมนี้จะทำให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์จริง สามารถนำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้

วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558

ครั้งที่ 6

เนื้อหาที่เรียน

กิจกรรมสถานที่ท่องเที่ยวในวันวาเลนไทน์

  •      ผลจากการทำกิจกรรมจะทำให้เด็กเรียนรู้ในเรื่อง 1.จำนวน 2.การนับ ได้เทคนิคการสอนเด็กไม่่วาจะสอนอะไรสามารถนำคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องได้ เป็นการสอนในเชิงปฏิบัติ
ทดสอบก่อนเรียน
  •  เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์มีอะไรบ้างและนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไรบ้าง
เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • นิทาน
  • เพลง
  • เกม
  • คำคล้องจอง
  • ปริศนาคำทาย
  • บทบาทสมมุติ
  • แผนภูมิ
  • ประกอบอาหาร
เพื่อนนำเสนอวิจัย
  • เลขที่ 13 การสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  •      การสร้างหนังสือภาพ ทำให้เด็กได้รับความสนุกสนาน,ได้รับประสบการณ์ตรง และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก
  •      ผลการวิจัย ทำให้เกิดผลการเรียนที่ดีมากขึ้น จากคะแนนเฉลี่ยที่ตั้งไว้ 60%
  • เลขที่ 14 การพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยการการละเล่นพื้นบ้าน
  •      การเล่นคำทาย,การเป่ากบ,กาฟักไข่,รีรีข้าวสาร เป็นต้น
  • ฝึกให้เด็กรู้จักการนับ การคิด รู้จักการรอคอย มีไหว คิดอย่างเป็นระบบ

ร้องเพลงนับนิ้วมือ
   
นี่คือนิ้วมือของฉัน มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว
มือซ้ายก็มีห้านิ้ว มือขวาก็มีห้านิ้ว
นับ 1 2 3 4 5 นับต่อมา 6 7 8 9 10
นับนิ้วนั้นจงอย่ารีบ นับ 1 ถึง 10 จำให้ขึ้นใจ

แบ่งกลุ่มทำกิจกรรม
  • แบ่งกลุ่มตัดกระดาษให้เป็นรูปสี่เหลี่ยม จำนวน 3 สี สีละ 10 อัน
  • ให้นักศึกษาต่อเป็นรูปภาพโดยเริ่มจากสี่เหลี่ยม 1 รูป ไปจนถึงสี่เหลี่ยม 5 รูป

วิธีการสอน
  • มีกิจกรรมให้ทำก่อนเข้าสู่บทเรียน
  • มีการทบวนความรู้เดิมที่เรียนในสัปดาห์ที่แล้ว
  • ใช้เทคโนโลยีเข้ามาในการสอน
  • เปิดโอกาสให้เด็กได้ระดมความคิดตอบคำถาม
ทักษะที่ได้รับ
  • ได้รับประสบการณ์ตรงจากกิจกรรมที่เราได้ทำ
  • ได้รับทักษะทางสังคมจากการทำงานเป็นกลุ่ม
  • ได้รับทักษะในการคิดและตอบคำถาม
การประยุกต์ใช้
  • สามารถนำความรู้ที่ได้ไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให็กับเด็กในเรื่องเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยวิธีการที่หลากหลาย
บรรยากาศในการสอน
  • โดยรวมเพื่อนมีความตั้งใจเรียน ตั้งใจทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดี
  • เพื่อนบางคนไม่มีความพร้อมในการเรียน
  • อุณหภูมิให้ห้องเย็นจนเกินไป ทำให้ไม่มีสมาธิในการเรียน
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
  • อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมให้นักศึกษาได้ทำก่อนเค้าเรียนทุกคาบ สอนนักศึกษาโดยให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์จริง
  • เปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ และ ตอบคำถาม

                                           

วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558

ครั้งที่ 5

เนื้อหาที่เรียน

กิจกรรมการสอนแบบลงมือปฏิบัติ (มาเรียนและไม่มาเรียน)

  • ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงเริ่มจากนามธรรมนามไปสู่รูปธรรม


ทดสอบก่อนเรียน

  • มาตราฐานคืออะไรและมีประโยน์อย่างไร
  • สาระและมาตราฐานการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง
  • สาระและมาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนทำได้อย่างไรบ้าง
เพื่อนนำเสนอบทความ

  • เลขที่ 10 Mathematics ของวัยซน
ร้องเพลงจัดแถว

สองมือเราชูตรง แล้วเอาลมาเสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายมาข้างหน้า แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง

ร้องเพลงซ้ายขวา

ยืนให้ตัวตรง ก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้าย(ขวา)อยู่ไหน หันตัวไปทางนั้นแหละ

ร้องเพลงนกกระจิบ

นั่นนกบินมาริบ ริบ นกกระจิบ 1 2 3 4 5
อีกฝูงบินล่องรอยมา 6 7 8 9 10 ตัว


กรอบมาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาศตร์ปฐมวัย

  • รู้ในสิ่งที่เป็นพื้นฐานทางคณิศาสตร์ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเรียนคณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษา
สาระที่ 1 : จำนวและการดำเนิน
            2 : การวัด
            3 : เราขาคณิต
            4 : พีชคณิต
            5 : การวิเคราะห์ข้อมูลความน่าจะเป็น
            6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย

  • มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ เช่น จำนวนนับ 1-20 เข้าใจหลักการนับ รู้จัำนวน เรียงลำดับเป็นต้น
  • มีความเข้าใจพื้นฐาน คือ ความยาว สั้น น้ำหนัก
  • มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต เช่น ตำแหน่ง ทิศทาง
  • มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนก สีที่สัมพันธ์
  • มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในแผลภูมิอย่างง่าย
  • มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
      มาตราฐาน ค.ป. 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
สาระที่ 2 : การวัด   
     มาตราฐาน ค.ป. 2.1 เข้าใจพ้นฐานเกี่ยวกับการวัด ความยาว น้ำหนัก และปริมาตร
     มาตราฐาน ค.ป. 2.2 เงิน,เวลา
สาระที่ 3 : เราขาคณิต
    มาตราฐาน ค.ป. 3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทางและระยะทาง
    มาตราฐาน ค.ป. 3.2 รู้จักจำนวนรูปแบบเรขาคณิตและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปแบบเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
สาระที่ 4 : พีชคณิต
    มาตราฐาน ค.ป. 4.1 รู้จักรูปแบบความสัมพันธ์
สาระที่ 5 : การสร้างแผนภูมิความสัมพันธ์
    มาตราฐาน ค.ป. 5.1 เด็กสามารถนำเสนอข้อมูลในแผลภูมิอย่างง่ายได้
สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
    มาตราฐาน ค.ป. 6.1 การแก้ไขปัญหา การใช้เหตุผล การส่อสาร การเคลื่อนไหว ความรู้ต่าง ไ ทางคณิคศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์อื่น ๆ ได้

วิธีการสอน
  • อาจารย์เปิดโอกาสให้เด็กทำกิจกรรมอย่างเต็มที่
  • มีการทบทวนความรู้เดิมที่เรียนมาในสัปดาห์ที่แล้ว
ทักษะที่ได้รับ
  • ได้รับทักษะการคิดวิเคราะห์
  • ได้รับควาสนุกสนานกับกิจกรรมที่อาจารย์จัด
การประยุกต์ใช้
  • สามารถนำกิจกรรมที่อาจารย์ทำก่อนเรียนไปใช้ในการเรียนการสอนในภายภาคหน้าได้
บรรยากาศในการสอน
  • โดยรวมเพื่อนมีความตั้งใจเรียน บางคนมีการเตรียมความพร้อมในการเรียนไม่ดี เช่น ลืมเอาบทความมานำเสนอ
  • แอร์เย็นเกินไป
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
  • อาจารย์เข้าสอนตรงเวลาไม่เคยมาช้ากว่าเด็ก
  • มีกิจกรรมให้เด็กทำตลอดก่อนเข้าเรียน
  • มีสื่อการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ




วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 28 มกราคม 2558

ครั้งที่ 4

เนื้อหาที่เรียน

ทดสอบก่อนเรียน

  • ทฤษฏีเพียเจต์กับความรู้ทางคณิตศาสตร์
  • จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • หลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เพื่อนนำเสนอโทรทัศน์ครู

  • เลขที่ 7 เรื่องของเล่นและของใช้
  • เลขที่ 8 ผลไม้แสนสนุก
  • เลขที่ 9 บูรณาการสู่ความพร้อมในการเรียนรู้ โดย ครูอนโชา ถิรธำรง
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบูรเนอร์
  • ขั้นเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม
  • ขั้นเรียนรู้จากความคิด โดยการสร้างมโนภาพ 2 มิติ ภายในใจ
  • ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม ใช้เหตุผล ซับซ้อน และเป็นนามธรรม
ทฤษฏีทางสติปัญญาของไวก็อตสกี้
  • เด็กจะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คน เด็กจะเกิดการเรียนรรู้ทำให้เกิดพัฒนาการเปลี่ยนแปลงจากภายใน ประสบการณ์จะมีอิทธิพลและผลักดันพัฒนาการของเด็ก
เด็กปฐมวัยกับวิธีการสอน
  • ประสาทสัมผัสทั้ง 5
  • ลงมือกระทำโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
  • เล่นโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
จุดมุ่งหายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • ให้เด็กมีพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เช่นรู้จักคำศัพท์
  • พัฒนามโนภาพภาษาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
  • รู้จักใช้กระบวนการหาคำตอบ
  • ให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
  • ให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
  • ส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบ ด้วยตนเอง
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
  • การสังเกต ทักษะเพื่อหาคำตอบโดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
  • การจำแนก การแบ่งโยสร้างเกณฑ์ คือ ความเหมือน ความต่าง เป็นต้น
  • การเปรียบเทียบ อาศัยซความสัมพันธ์ตั้งแต่ 2 สิ่ง นำมาเปรียบเทียบ
  • การจัดลำดับ เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง  เช่น การวัดสิ่งของหรือเหตุการณ์
  • การวัด สัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
  • การนับ เด็กชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย การท่องจำ จะมีความหมายต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง
  • รูปทรงและขนาด เด็กจะมีความรู้ก่อนที่จะเข้าโรงเรียน
ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • การนับ
  • ตัวเลข
  • การจับคู่
  • การจัดประเภท
  • การเปรียบเทียบ
  • รูปร่างและพื้นที่
  • การวัด
  • การจัดลำดับ
วิธีการสอน
  • อาจารย์มีการทบทวนความรู้เดิมก่อนที่จะเริ่มเรียนรู้บทเรียนใหม่
  • เปิดโอกาสให้เด็กได้ระดบความคิดและตอบคำถามเป็นรายบุคคล โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
  • มีการใช้เทคโนโลยีในการช่วยสอน
ทักษะที่ได้รับ
  • ได้รับทักษะความกล้าแสดงออก และความมั่นใจ
  • ทักษะในการคิดและการตอบคำถาม
การประยุกต์ใช้
  • สามารถนำความรู้ที่เรียนมาไปจัดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ให้ตรงกับพัฒนาการของเด็ก เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีทักษะทางคณิตศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง
บรรยากาศในการสอน
  • บรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกสนาน เพื่อน ๆ มีความตั้งใจเรียน มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
  • อาจารย์เข้าสอนตรงต่อเวลา ใช้น้ำเสียงที่น่าฟัง มีการใช้เสียงสูง ต่ำ ทำให้ไม่น่าเบื่อในการสอน และเปิดโอกาสให้เด็กทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม

วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปโทรทัศน์ครู

เรื่อง บูรณาการสู่ความพร้อมในการเรียนรู้

โดย  คุณครูอโนชา ถิรธำรง

จาก  รร.สาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม)

     จากการที่ได้รับชมคลิปวิดีโอ เรื่อง บูรณาการสู่ความพร้อมการเรียนรู้ นั้น ทำให้ทราบว่า การบูรณการเนื้อหาต่าง ๆ นั้น สามารถทำได้ซึ่งบูรณาการมี 2 แบบ คือ กิจกรรม กับ เนื้อหา เช่น เนื้อหาวิชาศิลปะนำมาบูรณาการกับเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ แล้วสุดท้ายมาเป็นกิจกรรมการสร้างบ้านจากกล่องนม อีกทั้งการเล่นก็สามารถนำมาบูรณาการกับวิชาต่าง ๆ ได้เช่นกัน เช่น การเล่นผึ้งเปลี่ยนรัง ก็สามารถทำให้เรียนรู้เกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์ นั่นก็คือจำนวน เลขคู่ เลขคี่ ซึ่งในการเปลี่ยนแต่ละครั้งคุณครูก็จะเป็นคนบอกว่า ให้จับกลุ่มเป็นเลขคี่ 3 คน และวิชาสังคมศาสตร์ คือ การได้เล่น ได้พูดคุยมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ   เป็นต้น

การนำไปประยุกต์ใช้

  • สามารถนำไปบูรณาการในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้มีความหลากหลาย จากหลายวิชา หลายกิจกรรม มารวมกันเป็นกิจกรรมเดียว 
  • รู้จักการเริ่มกิจกรรมโดยการเล่นเกมเพื่อเป็นการดึงดูดความสนใจให้แก่เด็ก


วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 21 มกราคม 2558

ครั้งที่ 3

เนื้อหาที่เรียน

ทดสอบก่อนเรียนเกี่ยวกับความรู้เดิมที่เคยเรียนมา

  • ความหมายและประโยชน์ของพัฒนาการคืออะไร
  • พัฒนาการทางสติปัญญาสัมพันธ์กับการทำงานของสมองอย่างไร
  • พัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ บรูเนอร์ ไวกอตซกี้ มีลักษณะอย่างไร
  • การเรียนรรู้หมายถึงอะไรและมีประโยชน์อย่างไร
  • เด็กปฐมวัยมีวิธีการเรียนรู้อย่างไรและมีประโยชน์อย่างไร
เพื่อนนำเสนองานวิจัย
  • เลขที่ 4 เรื่อง การสร้างชุดทักษะสำหรับเกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • เลขที่ 5 เรื่อง การเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาเกมการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
  • เลขที่ 6 การส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์โดยผ่านการเล่น
วิธีการนำเสนอวิจัย
  • แนะนำตัวเองต้องชัดถ้อยชัดคำ
  • สรุปวิจัยมาให้ดี/กระชับ
  • ต้องมี ความสำคัญ,ขอบเขตการวิจัย,การดำเนินการ,เครื่องมือที่ใช้,คำศัพท์เฉพาะ,วัตถุประสงค์,สรุปผลการวิจัย
ทฤษฎีทางสติปัญญาของเพียเจต์    เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
ทฤษฎีทางสติปัญญาของบรูเนอร์      สร้างภาพตามจินตนาการ
ทฤษฎีทางสติปัญญาของไวกอตซกี้  ต้องมีทักษะทางสังคม

หลักการจัดกิจกรรม
  • สอนแบบรูปธรรม
  • ใช้สื่อที่น่าสนใจ
  • ให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
  • ใช้เวลาในการทำกิจกรรมไม่นาน
วิธีการสอน
  • อาจารย์เปิดโอกาสให้เด็กระดมความคิดในการช่วยกันตอบคำถามภายในห้อง
  • ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสอน
  • มีแบบฝึกหัดก่อนเรียนเพื่อทราบถึงความรู้เดิม
ทักษะที่ได้รับ
  • ได้รับทักษะความกล้าแสดงออก ความมั่นใจ
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์ในการตอบคำถาม
  • ทักษะทางความคิดสร้างสรรค์จากการนำเพลงมาแปลงเนื้อเพลงใหม่
การประยุกต์ใช้
  • สามารถนำความรู้ที่ได้เรียนมานำไปจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยให้ตรงกับการพัฒนาตามวัยของเด็ก
  • สามารถนำวิธีการนำเสนอไปใช้ในการนำเสนอในรายวิชาต่อไปได้
บรรยากาศในการสอน
  • บรรยากาศในการเรียนการสอนเป็นไปอย่างสนุกสนาน ไม่น่าเบื่อ เพื่อนมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม และมีความตั้งใจเรียนดี
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
  • อาจารย์เตรียมสื่อการสอนมาดี มาสอนตรงเวลา สอนสนุก ไม่น่าเบื่อ มีการเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในห้องเรียนทุกคน

สรุปบทความสอนคณิตศาสตร์จากชีวิตรอบตัว

         จากบทความสรุปได้ว่า

การสอนตัวเลข

  • ชวนเด็กนับสิ่งของรอบตัว เช่น นับของเล่นเด็ก จำนวนดอกไม้ในบ้าน หรือใกล้ตัวสุดนั่นก็คือนิ้วมือ และนิ้วเท้า เริ่มจาก 1-5 แล้วค่อยเพิ่มเป็น 1-10 

สอนขนาด/ปริมาณ/น้ำหนัก/หมวดหมู่

  • สอนให้เด็กรู้จัดขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ โดยการเรียงของขนาดที่แตกต่างกันให้เด็กดู 
  • สอนการเปรียบเทียบ เช่น จำนวนมากกว่า น้อยกว่า แะเท่ากัน เช่น การตักน้ำใส่แก้วใสที่มีรูปทรงแบบเดียวกันเพื่อเปรียบเทียบปริมาณ
  • สอนเรื่องหนักว่า เบากว่า เช่น ให้ลูกยกของภายในบ้านแล้วบอกสิ่งไหนหนักว่า เบากว่า
  • สอนเรื่องการจัดหมวดหมู่ เช่น ผัก ผลไม้ ของเล่น เครื่องเขียน เป็นต้น                                                
สอนเรื่องตำแหน่งซ้าย-ขวา
  • เล่นกิจกรรมตามคำสั่ง เช่น ขณะกินข้าวก็บอกว่า "แม่างแก้วน้ำไว้ด้านขวามือหนู" "หนูจับช้อนด้วยมือขวา จับซ่อมด้วยมือซ้าย"
สอนเรื่องเวลา
  • การเล่านิทานเรื่องซินเดอเรลลา และเมื่ออ่านจบให้ถามเด็กในส่วนที่เกี่ยวกับเวลาส เช่น นางฟ้าบอกให้ซินเดอรเรลล่ากลับออกจากงานเลี้ยงเวลาเท่าไร
สอนเรื่องกลางวัน-กลางคืน
  • สังเกตสิ่งรอบตัว เช่น "ตอนกลางวันสว่างเพราะมีดวงอาทิตย์  พออาทิตย์ตกก็มืด เรียนกว่ากลางคืน"
สอนเรื่องวันเดือนปี
  • บอกให้เด็กรู้จักวันจากกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวัน หรือเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือน

วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปวิจัยการพัฒนาความพร้อมคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยโดยใช้เพลง


จากการวิจัยสรุปได้ว่า

      เรื่อง               พัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยโดยใช้เพลง

      ชื่อผู้วิจัย       นางสาวรชนีกร พ่วงโพธิ์

      ภูมิหลัง          เด็กปฐมวัยเป็นวัยเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้ ดังนั้นการส่งเสริมพัฒนาการเด็กจึงมีความสำคัญมากและควรครอบคลุมทุกด้วน โดยเฉพาะด้านสติปัญญา เพราะเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองคาดหวังสูง เพราะยุคการศึกษาสมัยนี้มีการแข่งขันสูง

      ความสำคัญ  ในการส่งเสริมพัฒนาการสติปัญญาของเด็กปฐมวัยนั้นจะแรทรกอยู่ทุกกิจกรรม แต่กิจกรรมที่มีความสนุกสนานและรู้สึกผ่อนคลาย พัฒนาสมอง เพลิดเพลินโดนเด็กไม่รู้เลยว่ากำลังเรียนคณิตศาสตร์อยู่คือ กิจกรรมเคลื่อนไหวและดนตรี เด็กได้เล่นไปพร้อมกับการเคลื่อนไหวและฟังเพลงซึ่งเนื้อหาของเพลงจะสอนเด็กเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กเล็กอนุบาล 1 ซึ่งมีสมาธิไม่มากพอจะจับมานั่งเรียนคณิตศาสตร์

      กลุ่มเป้าหมายและตัวอย่าง
          นักเรียนชั้นอนุบาล 1/1 จำนวน 28 คน

      วิธีดำเนินการ
  1. ครูประจำชั้นเปิดเพลงที่มีเนื้อหาสอนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ให้เด็กได้ฝึกร้อง
  2. ครูให้เด็กเคลื่อนไหวประกอบเพลง
  3. ครูสร้างกติกาให้เด็กได้เล่นเกมจากเพลงนอกเหนือจากการเต้นและร้องเพลง เพื่อให้เด็กได้สนุกสนาน และเรียนรู้ผ่านการเล่น
  4. ในช่วงเด็กทำกิจกรรมอื่น ครูอาจเปิดเพลงให้เด็กฟังไปด้วย เพื่อให้เด็กเรียนรู้ผ่านเสียงเพลง
  5. ครูจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สัปดาห์ละ 2 วัน และเปลี่ยนเพลงไปเรื่อย ๆ

        เครื่องมือในการวิจัย
           แบบทดสอบด้านคณิศาสตร์ โดยประเมิน 8 ครั้ง อาทิตย์ละ 2 วัน เป็นเวลา 4 เดือน

        ระยะเวลา
           ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553

        สรุปผลการวิจัย
      หลังจากที่ใช้เพลงมาประกอบการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ในเรื่องสูง ต่ำ สั้น ยาว และการนับจำนวน ให้กับเด็กพบว่า เด็กเรียนรู้ได้เร็ว มีความสนุกสนานกับการเรียนและร่วมกันร้องตามเพลงได้ และอีกทั้งเด็กส่วนใหญ่สามารถทำข้อสอบได้ด้วย

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 14 มกราคม 2558

ครั้งที่ 2

เนื้อหาที่เรียน
ความหมายของคณิตศาสตร์คืออะไร

  • คณิตศาสตร์ หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการคำนวนหรือตำรา เป็นวิชาที่มีความจำเป็นในการประกอบวิชาชีพ เช่น ด้านกสิกรรม อุตสาหกรรมและพณิชยกรรม ผู้ที่มีอาชีพเป็นสถาปนิก วิศวกร ออกแบบ และควบคุมการก่อสร้าง นักวิทยาศาสตร์คิดค้นสิ่งแปลกใหม่ นักเศรษฐศาสตร์มีความจำเป็นที่ต้องมีความรู้ ความสามารถทางคณิตศาสตร์หรือตัวเลข ในการประกอบกิจกรรมนั้น ๆ
ความสำคัญของคณิตศาสตร์

          1.  คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการคิด  
          2.  คณิตศาสตร์เป็นภาษาอย่างหนึ่ง  
          3.  คณิตศาสตร์เป็นโครงสร้างที่รวมของความรู้  
          4.  คณิตศาสตร์เป็นการศึกษาเกี่ยวกับแบบแผน   
          5.  คณิตศาสตร์เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง  

ทักษะการเรียนรู้ทางคณิศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
               1. ทักษะการสังเกต(Observation)
                  
               2. ทักษะการจำแนกประเภท(Classifying)
                 
               3. ทักษะการเปรียบเทียบ(Comparing)
                  
               4. ทักษะการจัดลำดับ(Ordering)
                 
               5. ทักษะการวัด(Measurement)
                  
               6. ทักษะการนับ(Counting)
                 
               7. ทักษะเกี่ยวกับเรื่องรูปทรงและขนาด(Sharp and Size)
                   

ประโยชน์ของคณิตศาสตร์

  • ปัจจุบันคณิตศาสตร์มีส่วนเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันเรามากมาก ไม่ว่าจะเป็น การจับจ่ายซื้อของ การอ่านราคาสินค้า การบอกเวลา 
  • ประโยชน์ทางด้านอาชีพ เช่น วิศวกร อุตสาหกรรม ต่าง ๆ ล้วนก็มีคณิตศาสตร์เข้ามาเป็นส่วนเกี่ยวข้อง
  • ประโยชน์ทางด้านการฝึกอบรมให้คิดอย่างเป็นระบบ ระเบียบ เป็นขั้นเป็นตอน
วิธีการสอน
  • แบ่งกลุ่มอภิปรายในหัวข้อ ความหมายของคณิตศาสตร์ ,ความสำคัญของคณิตศาสตร์,ทักษะการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และ ประโยชน์ของคณิตศาสตร์
  • หลังจากอภิปราย ระดมความคิดเสร็จแล้ว ก็ให้นักศึกษาออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
ทักษะที่ได้รับ
  • ได้รับทักษะความกล้าแสดงออกในการที่จะออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน
  • ได้ฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม
  • ได้รับทักษะการคิดและวิเคราะห์
การประยุกต์ใช้
  • สามารถนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้กับตนเองและนำไปใช้กับการจัดประสบการ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้
บรรยาการศในการสอน
  • วันนี้เพื่อน ๆ มาเยอะขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว การเรียนการสอนต้องปรับเปลี่ยนออกไปเนื่องจากโปรเทคเตอร์นั้นเสีย จึงต้องเปลี่ยนการเรียนการสอนมาเป็นการอภิปราย ระดมความคิดเป็นกลุ่ม
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
  • อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนที่เตรียมมาได้ เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการที่จะตอบคำถามต่าง ๆ

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 7 มกราคม 2558

ครั้งที่ 1

เนื้อหาที่เรียน
         
           จุดมุ่งหมายของรายวิชา

  1. คุณธรรม จริยธรรม
  2. ความรู้
  3. ทักษะทางปัญญา การนำความรู้ที่เรียนมา นำไปใช้ประโยชน์
  4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
  5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
  6. ทักษะการจัดการเรียนรู้
           การจัดประสบการณ์
  • ให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่น
  • ให้เด็กลงมือกระทำด้วยตัวของเขาเอง
  • จัดสภาพห้องเรียนให้ตรงกับหน่วยเรียนเรื่องนั้น ๆ
           คณิตศาสตร์
  • ความหมายของคณิตศาสตร์
  • ความสำคัญของคณิตสาสตร์
  • รูปทรง
  • จำนวนนับ
  • บวก ลบ คูณ หาร
  • แนวคิดของนักการศึกษา
  • ทฤษฎี
  • หลักการคิด
          เด็กปฐมวัย
  • พัฒนาการ
                - ความต้องการ
                - ความแตกต่างระหว่างบุคคล
  • วิธีการเรียนรู้
                - เรียนรู้ผ่านการเล่น โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา : ดู , หู : ฟัง , ลิ้น : ชิมรส , จมูก : ดมกลิ่น , กาย : สัมผัส

         พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงทางพัฒนาการตามลำดับขั้นอย่างต่อเนื่องที่สะท้อนความสามารถสิ่งต่าง ๆ ตาอายุ  

วิธีการสอน
         
  • ใช้การระดมความคิดในการสอน
  • มีการตั้งคำถามปลายเปิด เผื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ตอบคำถาม
  • ใช้ My Map ในการสรุปองค์ความรู้ที่ได้                          
ทักษะที่ได้รับ
  • ได้รับทักษะความกล้าแสดงออกในการที่จะกล้าตอบคำถาม
  • ได้ทักษะการคิดและวิเคราะห์
การประยุกต์ใช้
  • จากความรู้ที่ได้สามารถนำไปจัดประสบการณ์การเรียนการสอนทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้      
บรรยากาศในการสอน
  • บรรยากาศในห้องเรียนวันนี้ดูเงียบเหงา เนื่องจากเป็นอาทิตย์แรกของการเปิดเรียน เริ่มต้นภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา 2557 โดยรวมเพื่อนมีความตั้งใจเรียน และมีส่วนในการตอบคำถามด้วย       
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
  • อาจารย์มีความตั้งใจในการสอน มาสอนตรงเวลา อีกทั้งยังมีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย เช่น การตั้งคำถามปลายเปิด ในการตอบคำถาม การใช้น้ำเสียงสูงต่ำในการสอน เพื่อไม่บรรยากาศการเรียนนั้นน่าเบื่อและไม่เครียด