วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558

ครั้งที่ 7

เนื้อหาที่เรียน

กิจกรรมการมาเรียนของนักเรียน

  • เป็นการจัดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันซึ่งจะทำให้เด็กรู้ลำดับการมาก่อน มาหลัง ได้ภาษา ได้รู้ถึงตัวเลข
ทบทวนเพลงเก่า

รูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบรูณาการ
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสมองเป็นฐาน
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบSTEM
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบมอนเตสเซอรี่
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบเดินเรื่อง
เพื่อนนำเสนอโทรทัศน์ครู
  • เลขที่ 17 ครูนิตยากับการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ลูกเต๋า
รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบรูณาการ
  • หมายถึงกระบวนการจัดประสบการณ์ตามความสนใจ ความสามารถโดยเชื่อมโยงเนื้อหาสาระของศาสตร์ต่าง ๆ และสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
ความสำคัญ
  • การจัดประสบการณ์แบบบรูณาการจะช่วยให้สามาดนำความรู้ ทักษะจากหลาย ๆ ศาสตร์มาแก้ไขปัญหาได้กับชีวิตประจำวัน
  • การจัดประสบการณ์แบบบรูณาการเกิความสัมพันธ์เชื่อมโยงความคิดรวบยอดของศาสตร์ต่าง ๆ เข้าด้วยกันทำให้เกิดถ่ายโอนประสบการณ์ของศาสตร์ต่า ๆ เข้าด้วยกัน
  • ช่วยลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหารายวิชาต่าง ๆ 
  • จะช่วยตอบสนองต่อความสามาถในหลย ๆ ด้านของผู้เรียน จะช่วยสร้างความรู้ ทักษะและเจตคติแบบพหุปัญญา
  • สอดคล้องกับทฤษฎีการสร้างความรู้โดยผู้เรียนที่กำลับเผยแพร่ในปัจจุบัน
สาระที่ควรเรียน
  • ตัวเด็ก
  • บุคคลและสถานที่
  • ธรรมชาติรอบตัว
  • สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก
ทำ My Map เกี่ยวกับตัวเด็ก,บุคคลและสถานที่,ธรรมชาติรอบตัว และสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก

วิธีการสอน
  • ให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์จริงจากการทำกิจกรรม
  • มีการทบทวนความรู้เดิม
  • เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ตอบคำถามแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ
  • ใช้เทคโนโลยีเข้ามาในการช่วยสอน
ทักษะที่ได้รับ
  • ได้รับประสบการณ์จริงจากการทำกิจกรรม
  • ได้ทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์จากการทำกิจกรรม
การประยุกต์ใช้
  • สามารถนำกิจกรรมที่อาจารย์สอนก่อนเรียนไปจัดประสบการณ์ให้กับเด็กได้
บรรยากาศในการสอน
  • เพื่อนมาเรียนน้อย บรรยากาศค่อนข้างเงียบเหงา
  • อุณหภูมิห้องเย็นจนเกินไป
  • อาจารย์สอนสนุก ไม่น่าเบื่อ
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
  • อาจารย์สอนสนุก มีกิจกรรมสอนก่อนเข้าเรียนทุกคาบ ซึ่งกิจกรรมนี้จะทำให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์จริง สามารถนำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้

วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558

ครั้งที่ 6

เนื้อหาที่เรียน

กิจกรรมสถานที่ท่องเที่ยวในวันวาเลนไทน์

  •      ผลจากการทำกิจกรรมจะทำให้เด็กเรียนรู้ในเรื่อง 1.จำนวน 2.การนับ ได้เทคนิคการสอนเด็กไม่่วาจะสอนอะไรสามารถนำคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องได้ เป็นการสอนในเชิงปฏิบัติ
ทดสอบก่อนเรียน
  •  เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์มีอะไรบ้างและนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไรบ้าง
เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • นิทาน
  • เพลง
  • เกม
  • คำคล้องจอง
  • ปริศนาคำทาย
  • บทบาทสมมุติ
  • แผนภูมิ
  • ประกอบอาหาร
เพื่อนนำเสนอวิจัย
  • เลขที่ 13 การสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  •      การสร้างหนังสือภาพ ทำให้เด็กได้รับความสนุกสนาน,ได้รับประสบการณ์ตรง และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก
  •      ผลการวิจัย ทำให้เกิดผลการเรียนที่ดีมากขึ้น จากคะแนนเฉลี่ยที่ตั้งไว้ 60%
  • เลขที่ 14 การพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยการการละเล่นพื้นบ้าน
  •      การเล่นคำทาย,การเป่ากบ,กาฟักไข่,รีรีข้าวสาร เป็นต้น
  • ฝึกให้เด็กรู้จักการนับ การคิด รู้จักการรอคอย มีไหว คิดอย่างเป็นระบบ

ร้องเพลงนับนิ้วมือ
   
นี่คือนิ้วมือของฉัน มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว
มือซ้ายก็มีห้านิ้ว มือขวาก็มีห้านิ้ว
นับ 1 2 3 4 5 นับต่อมา 6 7 8 9 10
นับนิ้วนั้นจงอย่ารีบ นับ 1 ถึง 10 จำให้ขึ้นใจ

แบ่งกลุ่มทำกิจกรรม
  • แบ่งกลุ่มตัดกระดาษให้เป็นรูปสี่เหลี่ยม จำนวน 3 สี สีละ 10 อัน
  • ให้นักศึกษาต่อเป็นรูปภาพโดยเริ่มจากสี่เหลี่ยม 1 รูป ไปจนถึงสี่เหลี่ยม 5 รูป

วิธีการสอน
  • มีกิจกรรมให้ทำก่อนเข้าสู่บทเรียน
  • มีการทบวนความรู้เดิมที่เรียนในสัปดาห์ที่แล้ว
  • ใช้เทคโนโลยีเข้ามาในการสอน
  • เปิดโอกาสให้เด็กได้ระดมความคิดตอบคำถาม
ทักษะที่ได้รับ
  • ได้รับประสบการณ์ตรงจากกิจกรรมที่เราได้ทำ
  • ได้รับทักษะทางสังคมจากการทำงานเป็นกลุ่ม
  • ได้รับทักษะในการคิดและตอบคำถาม
การประยุกต์ใช้
  • สามารถนำความรู้ที่ได้ไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให็กับเด็กในเรื่องเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยวิธีการที่หลากหลาย
บรรยากาศในการสอน
  • โดยรวมเพื่อนมีความตั้งใจเรียน ตั้งใจทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดี
  • เพื่อนบางคนไม่มีความพร้อมในการเรียน
  • อุณหภูมิให้ห้องเย็นจนเกินไป ทำให้ไม่มีสมาธิในการเรียน
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
  • อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมให้นักศึกษาได้ทำก่อนเค้าเรียนทุกคาบ สอนนักศึกษาโดยให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์จริง
  • เปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ และ ตอบคำถาม

                                           

วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558

ครั้งที่ 5

เนื้อหาที่เรียน

กิจกรรมการสอนแบบลงมือปฏิบัติ (มาเรียนและไม่มาเรียน)

  • ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงเริ่มจากนามธรรมนามไปสู่รูปธรรม


ทดสอบก่อนเรียน

  • มาตราฐานคืออะไรและมีประโยน์อย่างไร
  • สาระและมาตราฐานการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง
  • สาระและมาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนทำได้อย่างไรบ้าง
เพื่อนนำเสนอบทความ

  • เลขที่ 10 Mathematics ของวัยซน
ร้องเพลงจัดแถว

สองมือเราชูตรง แล้วเอาลมาเสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายมาข้างหน้า แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง

ร้องเพลงซ้ายขวา

ยืนให้ตัวตรง ก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้าย(ขวา)อยู่ไหน หันตัวไปทางนั้นแหละ

ร้องเพลงนกกระจิบ

นั่นนกบินมาริบ ริบ นกกระจิบ 1 2 3 4 5
อีกฝูงบินล่องรอยมา 6 7 8 9 10 ตัว


กรอบมาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาศตร์ปฐมวัย

  • รู้ในสิ่งที่เป็นพื้นฐานทางคณิศาสตร์ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเรียนคณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษา
สาระที่ 1 : จำนวและการดำเนิน
            2 : การวัด
            3 : เราขาคณิต
            4 : พีชคณิต
            5 : การวิเคราะห์ข้อมูลความน่าจะเป็น
            6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย

  • มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ เช่น จำนวนนับ 1-20 เข้าใจหลักการนับ รู้จัำนวน เรียงลำดับเป็นต้น
  • มีความเข้าใจพื้นฐาน คือ ความยาว สั้น น้ำหนัก
  • มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต เช่น ตำแหน่ง ทิศทาง
  • มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนก สีที่สัมพันธ์
  • มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในแผลภูมิอย่างง่าย
  • มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
      มาตราฐาน ค.ป. 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
สาระที่ 2 : การวัด   
     มาตราฐาน ค.ป. 2.1 เข้าใจพ้นฐานเกี่ยวกับการวัด ความยาว น้ำหนัก และปริมาตร
     มาตราฐาน ค.ป. 2.2 เงิน,เวลา
สาระที่ 3 : เราขาคณิต
    มาตราฐาน ค.ป. 3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทางและระยะทาง
    มาตราฐาน ค.ป. 3.2 รู้จักจำนวนรูปแบบเรขาคณิตและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปแบบเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
สาระที่ 4 : พีชคณิต
    มาตราฐาน ค.ป. 4.1 รู้จักรูปแบบความสัมพันธ์
สาระที่ 5 : การสร้างแผนภูมิความสัมพันธ์
    มาตราฐาน ค.ป. 5.1 เด็กสามารถนำเสนอข้อมูลในแผลภูมิอย่างง่ายได้
สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
    มาตราฐาน ค.ป. 6.1 การแก้ไขปัญหา การใช้เหตุผล การส่อสาร การเคลื่อนไหว ความรู้ต่าง ไ ทางคณิคศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์อื่น ๆ ได้

วิธีการสอน
  • อาจารย์เปิดโอกาสให้เด็กทำกิจกรรมอย่างเต็มที่
  • มีการทบทวนความรู้เดิมที่เรียนมาในสัปดาห์ที่แล้ว
ทักษะที่ได้รับ
  • ได้รับทักษะการคิดวิเคราะห์
  • ได้รับควาสนุกสนานกับกิจกรรมที่อาจารย์จัด
การประยุกต์ใช้
  • สามารถนำกิจกรรมที่อาจารย์ทำก่อนเรียนไปใช้ในการเรียนการสอนในภายภาคหน้าได้
บรรยากาศในการสอน
  • โดยรวมเพื่อนมีความตั้งใจเรียน บางคนมีการเตรียมความพร้อมในการเรียนไม่ดี เช่น ลืมเอาบทความมานำเสนอ
  • แอร์เย็นเกินไป
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
  • อาจารย์เข้าสอนตรงเวลาไม่เคยมาช้ากว่าเด็ก
  • มีกิจกรรมให้เด็กทำตลอดก่อนเข้าเรียน
  • มีสื่อการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ




วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 28 มกราคม 2558

ครั้งที่ 4

เนื้อหาที่เรียน

ทดสอบก่อนเรียน

  • ทฤษฏีเพียเจต์กับความรู้ทางคณิตศาสตร์
  • จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • หลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เพื่อนนำเสนอโทรทัศน์ครู

  • เลขที่ 7 เรื่องของเล่นและของใช้
  • เลขที่ 8 ผลไม้แสนสนุก
  • เลขที่ 9 บูรณาการสู่ความพร้อมในการเรียนรู้ โดย ครูอนโชา ถิรธำรง
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบูรเนอร์
  • ขั้นเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม
  • ขั้นเรียนรู้จากความคิด โดยการสร้างมโนภาพ 2 มิติ ภายในใจ
  • ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม ใช้เหตุผล ซับซ้อน และเป็นนามธรรม
ทฤษฏีทางสติปัญญาของไวก็อตสกี้
  • เด็กจะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คน เด็กจะเกิดการเรียนรรู้ทำให้เกิดพัฒนาการเปลี่ยนแปลงจากภายใน ประสบการณ์จะมีอิทธิพลและผลักดันพัฒนาการของเด็ก
เด็กปฐมวัยกับวิธีการสอน
  • ประสาทสัมผัสทั้ง 5
  • ลงมือกระทำโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
  • เล่นโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
จุดมุ่งหายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • ให้เด็กมีพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เช่นรู้จักคำศัพท์
  • พัฒนามโนภาพภาษาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
  • รู้จักใช้กระบวนการหาคำตอบ
  • ให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
  • ให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
  • ส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบ ด้วยตนเอง
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
  • การสังเกต ทักษะเพื่อหาคำตอบโดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
  • การจำแนก การแบ่งโยสร้างเกณฑ์ คือ ความเหมือน ความต่าง เป็นต้น
  • การเปรียบเทียบ อาศัยซความสัมพันธ์ตั้งแต่ 2 สิ่ง นำมาเปรียบเทียบ
  • การจัดลำดับ เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง  เช่น การวัดสิ่งของหรือเหตุการณ์
  • การวัด สัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
  • การนับ เด็กชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย การท่องจำ จะมีความหมายต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง
  • รูปทรงและขนาด เด็กจะมีความรู้ก่อนที่จะเข้าโรงเรียน
ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • การนับ
  • ตัวเลข
  • การจับคู่
  • การจัดประเภท
  • การเปรียบเทียบ
  • รูปร่างและพื้นที่
  • การวัด
  • การจัดลำดับ
วิธีการสอน
  • อาจารย์มีการทบทวนความรู้เดิมก่อนที่จะเริ่มเรียนรู้บทเรียนใหม่
  • เปิดโอกาสให้เด็กได้ระดบความคิดและตอบคำถามเป็นรายบุคคล โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
  • มีการใช้เทคโนโลยีในการช่วยสอน
ทักษะที่ได้รับ
  • ได้รับทักษะความกล้าแสดงออก และความมั่นใจ
  • ทักษะในการคิดและการตอบคำถาม
การประยุกต์ใช้
  • สามารถนำความรู้ที่เรียนมาไปจัดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ให้ตรงกับพัฒนาการของเด็ก เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีทักษะทางคณิตศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง
บรรยากาศในการสอน
  • บรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกสนาน เพื่อน ๆ มีความตั้งใจเรียน มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
  • อาจารย์เข้าสอนตรงต่อเวลา ใช้น้ำเสียงที่น่าฟัง มีการใช้เสียงสูง ต่ำ ทำให้ไม่น่าเบื่อในการสอน และเปิดโอกาสให้เด็กทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม