วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 5 พฤษภาคม 2558

ครั้งที่ 15

สรุปการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


  • จากการที่ได้เรียนวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้น ทำให้รู้ว่า การสอนเด็กปฐมวัยนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่ใช่แค่ เล่านิทาน ป้อนนม แล้วให้เด็กนอน การสอนเด็กปฐมวัยนั้นมีอะไรที่สอดแทรกอีกเยอะ ไม่ว่าจะเป็นการสอน เราควรสอนให้ตรงตามพัฒนาการของเด็ก สอนในเรื่องที่เด็กสนใจ และควรส่งเสริมเด็กให้เด็กทำกิจกรรมต่าง ๆ การสอนคณิตศาสตร์ให้เด็กปฐมวัยก็เช่นกัน เราควรสอนตามกรอบสาระมาตราฐานการเรียนรู้ 6 สาระ เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนเป็นลำดับขั้น และการสอนคณิตศาสตร์ปฐมวัยควรทอดแทรกวิชาต่าง ๆ เข้าไปด้วย เช่น ศิลปะ,ดนตรี,วิทยาศาสตร์ ฯ ซึ่งการทอดแทรกวิชาต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้เกิดเกิดการพัฒนาไปทุก ๆ ด้าน



วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 1 พฤษภาคม 2558

ครั้งที่ 14

เนื้อหาที่เรียน

  • ทบทวนความรู้ตลอด 1 เทอม ดังนี้ 
การบูรณาการคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยกับวิชาอื่น ๆ เช่น
  • ภาษา,สุขศึกษา,สังคมศึกษา,ดนตรี,ศิลปะ,วิทยาศาสตร์ เป็นต้น
  • พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
  • การบูรณาการกับ 6 กิจกรรมหลัก 1.กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ 2.กิจกรรมเสริมประสบการณ์ 3.กิจกรรมเสรี 4.กิจกรรมกลางแจ้ง 5.กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 6.เกมการศึกษา
กิจกรรมผู้ปกครองมีส่วนร่วมกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างไรบ้า
  • นับจำนวนการจ่ายตังค์ที่ตลาดกับผู้ปกครอง
  • การทำอาหาร เช่น ปริมาณของส่วนผสมต่าง ๆ ความสั้น-ยาว ของผัก
  • การนับสิ่งของต่าง ๆ ภายในบ้าน
  • การนั่งรถไปเที่ยวสถานที่ต่าง ๆ อ่านป้ายทะเบียนรถ
  • ให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดโต๊ะอาหาร
เกมการศึกษาคือ
  • กิจกรรมการเล่นที่ช่วยพัฒนาด้านต่าง ๆ ของเด็ก โดยเน้นทางด้านสติปัญญา
ประเภทของเกมการศึกษา
  • กมจับคู่ เช่น  จับคู่รูปร่างที่เหมือนกัน  จับคู่ภาพกับเงา 
  • เกมจัดหมวดหมู่   ภาพสิ่งต่างๆที่นำมาจัดเป็นพวกๆ   ภาพเกี่ยวกับประเภทของใช้ในชีวิตประจำวัน
  •  เกมจัดหมวดหมู่ตามรูปร่าง สี ขนาด รูปทรงเรขาคณิต 
  •  เกมวางภาพต่อปลาย (Domino) โดมิโนภาพเหมือน โดมิโนสัมพันธ์
  •  เกมเรียงลำดับ  เรียงลำดับภาพเหตุการณ์ต่อเนื่อง  เรียงลำดับขนาด
  • เกมศึกษารายละเอียดของภาพ (Lotto)
  •   เกมจับคู่แบบตารางสัมพันธ์ (Matrix)
  •  เกมพื้นฐานการบวก
นำเสนอนิทาน เพลง คำคล้องจอง

  • กลุ่มในสาระที่ 5
  • กลุ่มในสาระที่ 6
วิธีการสอน
  • อาจารย์เปิดโอกาสให้เด็กได้ตอบคำถาม
  • ให้เด็กได้มีส่วนร่วมกับการทำกิจกรรมต่าง ๆ
ทักษะที่ได้รับ
  • ได้รับทักษะการคิดวิเคราะห์
  • ทักษะในการตอบคำถาม
  • ทักษะในการนำเสอนงานหน้าชั้นเรียน
การประยุกต์ใช้
  • สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้แก่เด็กปฐมวัยให้ตรงตามพัฒนาการและส่งเสริมพัฒนาการไปทุกๆด้าน
บรรยากาศในการสอน
  • มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียน
  • บรรยากาศในห้องเรียนเย็นจนเกินไป
  • เพื่อน ๆ มีความตั้งเรียนดี
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
  • อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่หลาหลาย
  • เปิดโอกาสให้เด็กได้ตอบคำถาม
  • เข้าสอนตรงเวลา

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 27 เมษายน 2558

ครั้งที่ 13

เนื้อหาที่เรียน

ทำแบบประเมิน ทบทวนความรู้จากการเรียนตลอด 1 เทอม โดยมีเนื้อหาดังนี้

1.พัฒนาการหมายถึงอะไร?
2.การเรียนรู้มีลักษณะอย่างไร?
3.หากครูไม่ศึกษาพัฒนาการและวิธีการเรียนรู้ของเด็กการจัดประสบการณ์จะเป็นอย่างไร?
4.คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มีลักษณะอย่างไร?
5.คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแตกต่างจากวิชาคณิตศาสตร์ในระบบการเรียนการสอนของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างไร?
6.การนำความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์หรือการคิดคำนวณมาจัดประสบการณ์ให้เด็กมีแนวคิดอย่างไร?
7.สาระคณิตศาสตร์ตามกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยมีอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างการจัดประสบการณ์แต่ละสาระ
8.ผู้สอนบูรณาการคณิตศาสตร์ผ่านรูปแบบการสอนใดได้บ้าง?
9.ให้ท่านยกตัวอย่างขั้นตอนรูปแบบการสอนบูรณาการคณิตศาสตร์?
10.ในการทดลองการจัดประสบการณ์ทำไมการวางโต๊ะและกระดานเขียนต้องมีความสัมพันธ์กับการนั่งของครู
11.ขั้นตอนการจัดประสบการณ์มีอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่าง
12.ในการทดลองการจัดประสบการณ์มีเทคนิควิธีที่ท่านพึงระวังและควรนำมาใช้มีอะไรบ้าง

13.จากการศึกษาในรายวิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยท่านได้ความรู้และทักษะใดบ้าง คุณธรรมจริยธรรมที่ได้รับจากรายวิชานี้คืออะไร ท่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนอะไร พร้อมยกตัวอย่าง ท่านมีโอกาสใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาบ้างหรือไหม พร้อมยกตัวอย่าง ท่านมีประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้หรือไม่ ถ้ามีให้ท่านยกตัวอย่าง

วิธีการสอน

  • วันนี้อาจารย์แจกใบประเมินทบทวนความรู้ ตลอด 1 เทอม โดยให้นักศึกษาตอบคำถาม แล้วส่งก่อน 12.00
ทักษะที่ได้รับ
  • ได้ทบทวนความรู้เดิมตลอด 1 เทอมว่าเราเรียนอะไรไปบ้าง
การนำไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำความรู้ที่ได้จากวิชานี้ไปใช้ในรายวิชาอื่นได้
บรรยากาศในการสอน
  • อาจารย์ให้นักศึกษาไปทำงานตามที่ได้รับมอบหมายตามสถานที่ต่าง ๆ ตามใจตนเอง
ประเมินอาจารย์
  • อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ดี มีการให้นักศึกษาทบทวนความรู้ตลอด 1 เทอมที่เรียนมา

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 23 เมษายน 2558

ครั้งที่ 12

เนื้อหาที่เรียน

กิจกรรมส่งขนม

  • อาจารย์ให้ขนมมา 1 กระปุก และให้ตัวแทน 1 คน จัดขนมที่อยู่ในกระปุกโดยการแบ่งขนมเป็นกองกองละ 10 ให้ได้ 3 กอง กองที่ 4 จะมีเพียง 2 ชิ้น
  • ทำอย่างไรเพื่อที่จะให้เด็กได้เรียนรู้คณิตศาสตร์ วิธีการคือ ให้เด็กหยิบขนมด้วยตนเอง โดยหยิบทีละชิ้น แล้วส่งต่อไปเรื่อย ๆ จนครบทุกคน วิธีนี้จะทำให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องการเพิ่ม-ลดของจำนวน


สอบสอน

  • สอบสอนเป็นกลุ่มตามเรื่องที่ตนเองได้ คือ ผีเสื้อ
  • ในการสอนประกอบด้วยอุปกรณ์ดังนี้ 1.โต๊ะ 2.กระดาน 3.กระดาษ 4.สื่อของแต่ละกลุ่ม
เทคนิคที่อาจารย์แนะนำ
  • ควรใช้สื่อที่เป็นของจริง เพื่อที่เด็กจะได้เกิดการเรียนรู้จากของจริง
  • การนั่งไม่ควรนั่งบังกระดาน ต้องนั่งเสมอกับเด็ก
  • ใช้สื่อที่มีความแข็งแรง ทนทาน และไม่เป็นอันตรายต่อตัวเด็ก
วิธีการสอน
  • อาจารย์ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง และมีการให้คำแนะนำต่าง ๆ แก่นักศึกษา
  • มีกิจกรรมเข้าสู่บทเรียนเสมอ
ทักษะที่ได้รับ
  • ได้รับทักษะในการสอนเด็กว่าควรทำอย่างไร
  • ได้ทักษะความกล้าแสดงออก การพูด การนั่ง
การนำไปประยุกต์ใช้
  • สำหรับการเรียนในวันนี้ทำให้ดิฉันได้อะไรหลาย ๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นทักษะในด้านการสอน การเขียนแผน การจัดเตรียมสื่อต่าง ๆ ว่าต้องใช้ของจริง เพื่อที่จะให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ และอีกทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้สอนเด็กได้ในอนาคต
บรรยากาศในการสอน
  • วันนี้สถานที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเรียน ทำให้นักศึกษานั้นเกิดการเรียนรู้ได้ไม่เต็มที่
ประเมินอาจารย์
  • อาจารย์แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี เก็บเด็กเก่ง มีความสามารถในการสอนสูง และมีเทคนิคการสอนที่มากมาย มีกิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียนเสมอ

วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 8 เมษายน 2558

ครั้งที่ 11

เนื้อหาที่เรียน

นำเสนอกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์

  • เลขที่ 9 กิจกรรมศิลปะที่ส่งเสริมทักษะทางคณิตศาตร์
  • เลขที่ 10


ขั้นตอนการออกแบบกิจกรรม

  • ศึกษาสาระที่ควรเรียนรู้
  • วิเคราะห์เนื้อหา
  • ศึกษาประสบการณ์จริง
  • บูรณาการคณิตศาสตร์
  • ออกแบบกิจกรรม
สาระที่ควรเรียนรู้
  • ศึกษาสาระที่ควรเรียนรู้
  • วิเคราะห์เนื้อหา
  • ศึกษาประสบการณ์จริง
  • บูรณาการคณิตศาสตร์
  • ออกแบบกิจกรรม
หลักในการเลือกหัวข้อเรื่อง
  • เรื่องใกล้ตัว
  • เรื่องที่มีผลกระทบต่อตัวเด็ก
ประสบการณ์สำคัญ
  • ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย
  • ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ
  • ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม
  • ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา
แบ่งกลุ่มทำ Mind Mapping
  • แบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มสัตว์ 2 กลุ่ม และ กลุ่มผลไม้ 2 กลุ่ม ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาดังนี้ 1.ชนิด 2.ลักษณะ 3.การดูแลรักษา 4.ข้อควรระวัง 5.ประโยชน์
เขียนแผนการสอนตามเรื่องผีเสื้อ

วิธีการสอน
  • ให้เด็กได้ลงมือทำโดยการปฏิบัติจริง
  • เปิดโอกาศให้นักศึกษา ได้ตอบคำถาม
ทักษะที่ได้รับ
  • ได้รับทักษะการเขียนแผนและการทำ My Mapping
  • ทักษะในการคิดวิเคราะห์
  • ทักษะในการทำงานเป็นกลุ่ม
การนำไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำทักษะในการเขียนแผนไปใช้เขียนแผนได้ในอนาคต
บรรยากาศในห้องเรียน
  • โต๊ะและเก้าอี้ไม่เพียงพอต่อนักศึกษา บรรยากาศมีความวุ่นวาย เพื่อนมาเรียนช้า เนื่องจากฝนตกหนัก
ประเมินอาจารย์
  • อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย ให้คำแนะนำนักศึกษาเวลานักศึกษาทำงานผิดพลาด

วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 25 มีนาคม 2558

ครั้งที่ 10

เนื้อหาที่เรียน

กิจกรรมต่อไม้เป็นรูปต่าง ๆ 

  • แบ่งกลุ่ม 3 คน
  • สร้างรูปจากไม้โดยมีดินน้ำมันเป็นตัวเชื่อมดังนี้ 
          - รูปสามเหลี่ยม
          - รูปสี่เหลี่ยม
          - รูปอะไรก็ได้
          - รูปทรงสามเหลี่ยม
          - รูปทรงสี่เหลี่ยม
          - รูปทรงอะไรก็ได้

เก็บตกการนำเสนอ
เลขที่ 2 บทความคณคิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เลขที่ 25 เรื่องการเรียนรรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
เลขที่ 26 การสอนคณิตศาสตร์ด้วยนิทาน
  • เด็กส่วนใหญ่มักะชอบนิทาน คุณครูจึงนำนิทานที่เด็ก ๆ ชอบมาบูรณาการกับคณิตศาสตร์ซึ่งนิทานที่เล่า คือ ลูกหมูสามตัว โดยจะถามเรื่อง บ้านหลังไหนเล็ก บ้านหลังไหนใหญ่ จำนวนคนในครอบครัวของหมู ทิศทาง แผนที่ เป็นต้น แต่ก่กนจะเล่านิทานจะมีเพลงมาก่อน กล่าวคือการนำด้วยเพลง
นำเสนอรูปแบบการสอน
  • รูปแบบการสอนแบบมอนเตสซอรี่
  • รูปแบบการสอนแบบสตอรี่ไลน์
  • รูปแบบการสอนแบบ BBL
  • รูปแบบการสอนแบบ STEM
นำเสนอนิทาน คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย ตามสาระคณิตศาสตร์ที่ได้

วิธีการสอน
  • มีกิจกรรมทำเข้าสู่บทเรียน
  • เปิดโอกาสให้เด็กแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ถาม และ ตอบคำถาม
  • ให้คำแนะนำขณะที่เด็กนำเสนองาน
ทักษะที่ได้รับ
  • ได้รับทักษะทางการพูดในการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์
  • ทักษะในการถามและตอบคำถาม
การประยุกต์ใช้
  • สามารถนำคำแนะนำจากอาจารย์ในเรื่องของการนำเสนองานไปใช้ได้ในวิชาอื่น ๆ อีกทั้งยังได้เทคนิคการสอนต่าง ๆ กิจกรรมต่าง ๆ ที่อาจารย์ได้จัดขึ้นแต่ละวัน ไปใช้สอนในอนาคต
บรรยากาศในการสอน
  • อุณหภูมิห้องเย็นจนเกินไป
  • เพื่อนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมดี
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
  • อาจารย์มีการเตรียมความพร้อมในการสอนมาดี
  • มีกิจกรรมให้ทำก่อนเข้าเรียนซึ่งกิจกรรมนั้นก็สอดคล้องกับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • สอนเข้าใจง่าย มีการให้เทคนิคต่าง ๆ แก่นักศึกษา       

วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 18 มีนาคม 2558 (ไม่ได้เข้าเรียน)

ครั้งที่ 9

เนื้อหาที่เรียน

นำเสนอวิจัย

  •  เลขที่ 22

นำเสนอบทความ
  • เลขที่ 1 นำเสนอบทความเรื่อง " เทคนิคการสอนเลขอนุบาล"
  • เลขที่ 3 นำเสนอบทความเรื่อง " เสริมการเรียนเลขให้วัยอนุบาล "
         
นำเสนอกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  •  เลขที่ 3 กิจกรรม กระดุมหลากสี
  •  เลขที่ 25 กิจกรรม แสนสนุก
  •  เลขที่ 26 กิจกรรม อนุรักษ์เชิงปริมาณ

** หมายเหตุ** อาจารย์มอบหมายงานให้ทำ คือ  ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน แต่งนิทานคณิตศาสตร์ คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย จากสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวับ



วิธีการสอน
  • ให้นำเสนอวิจัย บทความ และกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • เสริมความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่นำเสนอ
  • ประยุกต์กิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย
ทักษะที่ได้รับ 
  • ทักษะในการคิดวิเคราะห์
  • ทักษะในการพูดนำเสนองาน
  • ทักษะในการตอบคำถาม
การนำไปประยุกต์ใช้            
  • นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัย และเลือกกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและความรู้ด้านคณิตศาสตร์ให้เเก่เด็กปฐมวัย

บรรยากาศในห้องเรียน
  • มีแสงสว่างมากพอ โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนครบถ้วน บรรยากาศในห้องค่อนข้างเงียบ และอากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น
 ประเมินอาจารย์
  • มีเทคนิคการสอนที่ดี พูดเสริมแรงให้นักศึกษาเกิดความรู้และเกิดทักษะใหม่ๆ