วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 18 มีนาคม 2558 (ไม่ได้เข้าเรียน)

ครั้งที่ 9

เนื้อหาที่เรียน

นำเสนอวิจัย

  •  เลขที่ 22

นำเสนอบทความ
  • เลขที่ 1 นำเสนอบทความเรื่อง " เทคนิคการสอนเลขอนุบาล"
  • เลขที่ 3 นำเสนอบทความเรื่อง " เสริมการเรียนเลขให้วัยอนุบาล "
         
นำเสนอกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  •  เลขที่ 3 กิจกรรม กระดุมหลากสี
  •  เลขที่ 25 กิจกรรม แสนสนุก
  •  เลขที่ 26 กิจกรรม อนุรักษ์เชิงปริมาณ

** หมายเหตุ** อาจารย์มอบหมายงานให้ทำ คือ  ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน แต่งนิทานคณิตศาสตร์ คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย จากสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวับ



วิธีการสอน
  • ให้นำเสนอวิจัย บทความ และกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • เสริมความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่นำเสนอ
  • ประยุกต์กิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย
ทักษะที่ได้รับ 
  • ทักษะในการคิดวิเคราะห์
  • ทักษะในการพูดนำเสนองาน
  • ทักษะในการตอบคำถาม
การนำไปประยุกต์ใช้            
  • นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัย และเลือกกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและความรู้ด้านคณิตศาสตร์ให้เเก่เด็กปฐมวัย

บรรยากาศในห้องเรียน
  • มีแสงสว่างมากพอ โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนครบถ้วน บรรยากาศในห้องค่อนข้างเงียบ และอากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น
 ประเมินอาจารย์
  • มีเทคนิคการสอนที่ดี พูดเสริมแรงให้นักศึกษาเกิดความรู้และเกิดทักษะใหม่ๆ




วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 11 มีนาคม 2558

ครั้งที่ 8

เนื้อหาที่เรียน

ส่งรายงาน Power Point รูปแบบการจัดประสบการณ์

ทำกิจกรรมการมาโรงเรียนของเด็กอนุบาล

  • การจัดกิจกรรมควรแทรกสาระมาตราฐานให้ครบทุก 6 สาระ
ทำกิจกรรมวิเคราะห์ข้อมูลของแตงโมและกล้วย 
  • โดยเปรียบเทียบว่าสิ่งใดเหมือนกัน โดยผ่านการใช้ซับเซท
เพื่อนนำเสนอบทความ
  • เลขที่ 21 การสอนคณิตศาสตร์จากชีวิตรอบตัว
  • เราสามารถสอนคณิตศาสตร์ได้จากชีวิตรอบตัว เช่น การนับของเล่น นับสิ่งของภายในบ้าน สอนตำแหน่งซ้าย และ ขวา เป็นต้น
ทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับสาระและมาตราฐานในการเรียนรู้


  • สาระที่ คือ จำนวนและการดำเนินการ 
  • สาระที่ คือ การวัด ได้ความรู้ในเรื่องของการเปรียบเทียบ  
  • สาระที่ คือ เรขาคณิต 
  • สาระที่ คือ พีชคณิต  
  •  สาระที่ คือ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น  
  •  สาระที่ 6 คือ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์                                                                     
นำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
  • จุดมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาความรู้
  • ความสำคัญ การเรียนรู้ของเด็กมาจากการกระทำ
  • วิธีการจัดการเรียนการสอน แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1.วางแผนและเริ่มโครงการ 2.พัฒนาโครงการ 3.สรุปและอภิปรายผลโครงการ
  • ลักษณะ 1.อภิปราย 2.นำเสนอประสบการณ์เดิม 3.การทำงานภาคสนาม 4.สืบค้น ตั้งคำถาม 5.การจัดแสดงนิทรรศการ
ฝึกร้องเพลงและแปลงเนื้อเพลง

เพลงบวก-ลบ


บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ   ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ  ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ  หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ  ดูซิเออเหลือเพียงแค่สี่ใบ

แปลงเนื้อเพลง


บ้านฉันมีแก้วน้ำสามใบ  พี่ให้อีกห้าใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ  ดูซิเธอรวมกันได้แปดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำแปดใบ  หายไปห้าใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ  ดูซิเออเหลือเพียงแค่สามใบ

เพลงเท่ากัน-ไม่เท่ากัน

ช้างมีสี่ขา  ม้ามีสี่ขา
คนเรานัั้นหนา  สองขา ต่างกัน
ช้างม้ามี  สี่ขาเท่ากัน (ซ้ำ)
แต่กับคนนั้น  ไม่เท่ากันเอย (ซ้ำ)

แปลงเนื้อเพลง

ความยมีสี่ขา  กวางมีสี่ขา
เจ้านกนัั้นหนา  สองขา ต่างกัน
ความกวางมี  สี่ขาเท่ากัน (ซ้ำ)
แต่กับนกนั้น  ไม่เท่ากันเอย (ซ้ำ)

เพลงขวดห้าใบ

ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)
เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
คงเหลือขวด.....ใบวางอยู่บนกำแพง
(ลดจำนวนขวดลงไปตามลำดับ จนกระทั่งเหลือขวด 1 ใบ)
ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง

เพลงจับปู

1  2  3  4  5     จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว
6  7  8  9  10      ปูมันหนีบฉันต้องส่ายหัว
กลัว ฉันกลัว ฉันกลัว     ปูหนีบฉันที่หัวแม่มือ

วิธีการสอน
  • บอกให้ทราบถึงเนื้อหาที่เราจะเรียนในแต่ละวัน
  • ทบทวนความรู้เดิม
  • เปิดโอกาสให้เด็กได้ร่วมกิจกรรม
  • มีกิจกรรมทำก่อนเข้าสู่บทเรียน
ทักษะที่ได้รับ
  • ได้รับทักษะการแปลงเพลงและฝึกจิตนาการ
  • ได้รับเพลงใหม่ๆ
  • ได้รับทักษะการคิดวิเคราะห์
  • ได้รับทักษะการร้องเพลง
การประยุกต์ใช้
  • สามารถนำความรู้ที่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการจัดประสบการณ์ต่าง ๆ การแปลงเพลง ไปใช้ในการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยให้เหมาะสมได้
บรรยากาศในการสอน
  • วันนี้เพื่อนเข้าห้องเรียนช้า และไม่มีความพร้อมในการเรียน
  • บรรยากาศในห้องเรียนเย็นจนเกินไป
  • เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถเป็นแผ่นซีดีได้ ควรที่จะปรับปรุง
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
  • อาจารย์มีการเตรียมตัวในการสอนดี
  • เข้าสอนตรงเวลาและมาก่อนนักศึกษา
  • มีรูปแบบการสอนที่หลากหลาย